
ใช้เป็นอาหาร ขิงสดใช้เป็นเครื่องเทศปรุงอาหาร ขิงอ่อนทำเป็นผักจิ้ม ทำขิงดอง หั่นฝอยทานกับโจ๊ก ไก่ผัดขิง ถั่วเขียวต้มน้ำตาลใส่ขิง ทำน้ำขิง น้ำเต้าฮวย และอาหารอีกมากมายที่มีขิงเป็นส่วนประกอบ

คุณประโยชน์
ขิงส่วนที่เป็นเหง้า โดยเฉพาะเหง้าแก่จะมีน้ำมันหอมระเหยชนิดต่าง ๆ อาทิเช่น Ginferol, Zingiberol, Citral, 1-3% ทำให้ขิงมีกลิ่นหอม ช่วยเจริญอาหาร เสริมสมรรถภาพทางเพศ และมีน้ำมันชัน (Oleoresin) มากกว่าเหง้าขิงอ่อน สารชนิดนี้ทำให้ขิงมีกลิ่นฉุนและรสเผ็ด ยังมีธาตุแคลเซียม ฟอสฟอรัสและวิตามินหลายชนิด รวมทั้งน้ำตาลและเส้นใยอาหาร เหง้าขิงมีรสเผ็ดด้วยสาร 6 - Shogaol และ 6 - Gingrol ซึ่งลดการบีบตัวของลำไส้ ทำให้ร่างกายอบอุ่น ใช้ขับเหงื่อ ขับลม บรรเทาอาการจุกเสียด แน่นเฟ้อ รักษานิ่ว ช่วยย่อยอาหารจำพวกไขมัน ฆ่าพยาธิ รักษาโรคตา ต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย แก้ท้องร่วงอย่างแรง แก้คลื่นเหียน อาเจียน ลดระดับแคเลสเตอรอลในตับและเส้นเลือด ใบขิงเอามาตำพอกบรรเทาอาการพกช้ำ ดอกขิงเชื่อว่าฆ่าพยาธิได้
น้ำขิง

ส่วนผสม
- ขิง (ไม่แก่นัก) 1 ถ้วย
- น้ำ 2 ถ้วย
- น้ำตาลทรายแดง 1/2 ถ้วย
1. ปอกเปลือกขิงออก (ควรใช้ขิงไม่แก่นัก เพราะขิงแก่จัดจะมีสารชนิดหนึ่งมีกลิ่นฉุนและรสเผ็ดจัด เมื่อทำเป็นน้ำขิงแล้วจะไม่กล่อมกล่อม) ล้างน้ำ ทุบพอแหลก ตั้งน้ำให้เดือด เอาขิงลงต้มให้เดือด กรองเอากากออก
2. เติมน้ำตาล ชิมรสตามต้องการรีบยกลงกรองใส่ขวดที่ผ่านการต้มหรือนึ่งเป็นเวลา 20-30 นาที เมื่อน้ำเย็นลง แล้วค่อยเก็บใส่ตู้เย็น การต้มถ้าเดือดนานเกินไป กลิ่นหอมของขิงซึ่งเป็นน้ำมันหอมระเหยจะระเหยออกไปหมดทำให้ขิงที่ได้ไม่มีกลิ่นหอมชวนดื่ม น้ำขิงเหมาะทั้งดื่มตอนที่กำลังร้อนอยู่ตามที่เรียกกันว่าน้ำเต้าฮวย รสเผ็ดเล็กน้อย หอมหวาน หรือดื่มกับน้ำแข็งทุบก็ได้